Phra That Si Da or Sida pagoda. Located : Ban Dan Tambon Dan, Rasisalai, Sisaket.
พระธาตุสีดา ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของบ้านด่าน หมู่ที่ 13 ซึ่งท้าวคันธนามได้มาสร้างเพื่อบรรจุอัฐิของบิดามารดาไว้ ตามตำนานเล่าขานพอสังเขป ดังนี้ บริเวณพระธาตุสีดา เป็นเมืองโบราณที่เก่าแก่เมืองหนึ่ง อยู่ในเขตพื้นที่ดงคุ้มหวาย (สมัยนี้ทางราชการเรียกว่า ป่าดงแดง ) ซึ่งมีอาณาเขตตั้งแต่บ้านดงแดงเป็นวงโค้งจนถึงบ้านยางคำ อำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด คำว่า สีดา เป็นชื่อผู้หญิง สามีชื่อ คันธเนศ มีถิ่นเดิมอยู่ที่เมืองขุขันธ์ ซึ่งสองผัวเมียไม่มีบุตรและได้อพยพถิ่นฐานมาหาที่ทำกินบริเวณคุ้มดงหวาย ซึ่งมีหมู่บ้านอยู่เรียงรายเป็นจำนวนมาก วันหนึ่งนางสีดา ได้เข้าป่าเพื่อหาของกินและเกิดหิวน้ำ และได้ดื่มน้ำจากรอยเท้าช้างตั้งแต่นั้นมานางจึ่งเริ่มตั้งครรภ์และได้คลอดบุตรออกมาเป็นชาย จึงตั้งชื่อว่า คันธนาม เมื่อเติบโตขึ้น คันธนามมีร่างกายใหญ่โตแข็งแรงมากสามารถลากเกวียนได้ครั้งละร้อยเล่ม และลากคันไถ ไถนาเองโดยไม่ต้องใช้ควายและยังได้เรียนวิชาอาคมจากอาจารย์สำนักต่าง ๆ ในสมัยนั้นจึงเชี่ยวชาญในการใช้อาวุธทุกชนิดไม่มีใครเทียมทัน จึงมีผู้คนความเกรงกลัวและมาสมัครเรียนเป็นพรรคพวกเป็นอันมาก และช่วยกันสร้างบ้านเมืองแถบนี้จนเจริญขึ้นอย่างอย่างรวดเร็ว จึงได้ขนานนามเมืองนี้ว่า เมืองสีดาจำปาพันธ์ ตามชื่อเดิมของมารดา มี คันธนาม เป็นเจ้าเมือง เมื่อบิดามารดาเสียชีวิต คันธนามจึงได้มาสร้างพระธาตุบรรจุอัฐิของบิดามารดาไว้ที่บริเวณนี้ ชาวบ้านจึงให้เรียกชื่อว่า พระธาตุสีดา มาจนถึงปัจจุบัน ในสมัยราชการที่ 5 ทหารได้มาตั้งด่านในสงครามปราบ ฮ่อ อยู่บริเวณนี้ ชาวบ้านจึงเรียกชื่อหมู่บ้านนี้ว่า บ้านด่าน มีเสาหลักด่านอยู่ที่บ้านหลักด่าน มีเสาไม้แก่นขนาดใหญ่ แต่ในปัจจุบันนี้ผุพังไปแล้ว ชาวบ้านได้มาสร้างเสาหินขึ้นมาทดแทนและยังมีให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน
การเดินทาง : เดินทางโดยเส้นทาง ทางหลวงหมายเลข 2086 ราษีไศล - สุวรรณภูมิ ที่ตั้งบ้านด่าน ต.ด่าน อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ. #พระธาตุสีดา #บ้านด่าน #บ้านด่านราษีไศล
การเดินทาง : เดินทางโดยเส้นทาง ทางหลวงหมายเลข 2086 ราษีไศล - สุวรรณภูมิ ที่ตั้งบ้านด่าน ต.ด่าน อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ. #พระธาตุสีดา #บ้านด่าน #บ้านด่านราษีไศล
No comments:
Post a Comment