ประวัติอำเภอราษีไศล
เดิมอำเภอราษีไศล คือ เมืองราษีไศล ซึ่งโดยฐานะแล้วถือเป็นเมืองขนาดเล็กแต่อาณาเขตกว้างขวางพอสมควร ขึ้นแก่เมืองศรีสะเกษ (โดยธรรมเนียมการปกครองในขณะนั้นเรียกว่า “ระบบหัวเมือง” หัวเมืองหนึ่งๆ ประกอบด้วยเมืองเล็กหลายๆเมือง) อาณาเขตของเมืองเดิมนั้นได้แก่ อาณาเขตอำเภอราษีไศล รวมกิ่งอำเภอศิลาลาด (เว้นตำบลบัวหุ่ง และตำบลหนองอึ่ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเมืองศรีสะเกษ) และอาณาเขตอำเภอยางชุมน้อย ประชาชนประกอบด้วย เผ่าลาว เผ่าส่วย เผ่าเยอ แยกเป็นพวกที่อยู่มาแต่ดั้งเดิม ซึ่งพงศาวดารเรียกว่า “พวกป่าดง” อีกพวกหนึ่งคงอพยพมาจากนครจำปาศักดิ์ เมื่อราว พ.ศ.2267 มาตั้งอยู่เมืองท่ง (เมืองสุวรรณภูมิ) แต่ทั้งสองพวกนี้มิได้ปรับปรุงเพื่อจะตั้งเป็นเมืองแต่ประการใด พวกหลังอพยพมาจากเมืองศรีสะเกษ เพื่อเตรียมการตั้งเมืองโดยตรง
โดยฐานะเมืองศรีสะเกษเป็นเมืองใหญ่ โปรดเกล้าให้ตั้งเป็นเมือง เมื่อ พ.ศ.2325 (สมัยกรุงธนบุรี) แต่ไม่มีเมืองขึ้น มีเจ้าเมืองปกครองติดต่อกันมาหลายคน ครั้นเมื่อปี พ.ศ.2368 ได้ทรงโปรดเกล้าฯตั้งพระภักดีโยธา ปลัดเมืองศรีสะเกษ (ซึ่งเป็นเผ่าส่วย) เป็น “พระยาวิเศษภักดี” เจ้าเมือง ศรีสะเกษ ต่อมาเกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรง กับหลวงธิเบศร์ หลวงมหาดไทย และหลวงอภัย กรมการเมือง(ซึ่งเป็นเผ่าลาว) ทั้งสามคนจึงได้อพยพครอบครัวและบ่าวไพร่ยกไปตั้ง ณ บ้านลำโดมใหญ่ ต่อมาทรงโปรดเกล้าฯให้ยกขึ้นเป็น “เมืองเดชอุดม”(อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ในปัจจุบัน)
เมื่อปี พ.ศ.2421 เจ้าเมืองและกรมการเมืองศรีสะเกษ เห็นว่าฝั่งซ้ายแม่น้ำมูลเหมาะที่จะตั้งเมือง จึงแต่งตั้งท้าวจันศรี บุตรหลวงอภัย ให้เป็น “พระพลราชวงษา” นายกองนอก รับราชการขึ้นเมืองศรีสะเกษ ซึ่งทำหน้าที่รวบรวมสำมะโนครัวตัวเลข และนำมาปรับปรุงหมู่บ้าน อยู่ฟากฝั่งแม่น้ำมูล ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เพื่อเตรียมการตั้งเมือง พระพลราชวงษาได้อพยพครอบครัวและบ่าวไพร่ไปตั้งอยู่ที่บ้านโนนหินกอง(ปัจจุบันเป็นดง อยู่ใกล้สงยาง ตำบลกุง อำเภอศิลาลาด) ยึดเอาบ้านโนนหินกอง เป็นศูนย์กลาง เพราะเห็นว่าเป็นเนินสูง น้ำไม่ท่วม มีหมู่บ้านโดยรอบ ครั้นเห็น
ว่าพอจะตั้งเป็นเมืองได้ ก็ได้กราบเรียนต่อพระพรหมภักดี (โท) ยกกระบัตรเมือง ซึ่งรักษาราชการแทนผู้ว่าราชการเมืองศรีสะเกษ พระพรหมภักดีได้มีใบกราบบังคมทูลพระกรุณา ฯ ขอยกบ้านโนนหินกอง ขึ้นเป็นเมือง และขอแต่งตั้งพระพลราชวงษา(จันศรี) นายกองนอก เป็นผู้ว่าราชการเมือง
ครั้นวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเส็ง ตรีศก จุลศักราช 1243 พุทธศักราช 2424 (ขณะนั้น ระบบการปกครองยังเป็นแบบ “หัวเมือง” อยู่) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ยกบ้านโนนหินกอง ขึ้นเป็น “เมืองราษีไศล” ขึ้นแก่เมืองศรีสะเกษ และให้พระพลราชวงษา (จันศรี) เป็น “พระประจนปัจจนึก” ผู้ว่าราชการเมืองราษีไศล ถือศักดินา 800 ไร่ ได้บังคับบัญชาปลัด ยกกระบัตร กรมการและราษฎร บรรดาที่อยู่ในเขตแดนเมืองราษีไศล ทั้งสิ้น และให้ฟังบังคับบัญชาพระยาวิเศษภักดี ผู้ว่าราชการเมืองศรีสะเกษแต่ที่เป็นยุติธรรมและชอบด้วยราชการ และได้โปรดให้ตั้งหลวงแสง (จัน) น้องชายพระประจนปัจจนึก เป็น “หลวงหาญศึกนาศ” ปลัดเมืองราษีไศล และให้ท้าวคำเม็ก บุตรพระประจนปัจจนึก เป็น “หลวงพิฆาตไพรี” ยกกระบัตรเมือง โดยตั้งที่ว่าราชการเมืองอยู่ที่บ้านโนนหินกองตามที่โปรดเกล้านั้น เมืองศรีสะเกษจึงได้มี “เมืองขึ้น” จำเดิมแต่นั้นมา
ครั้น พ.ศ.2431 อุปฮาดเมืองสุวรรณภูมิ (ตามธรรมเนียมการปกครองหัวเมืองทางภาคอีสาน ในสมัยนั้น คณะผู้ครองเมือง เรียกว่า “คณะอาญา 4” ประกอบด้วย 1. เจ้าเมือง 2. อุปราชหรืออุปฮาดหรืออัครฮาด 3. ราชวงศ์หรืออัครวงศ์ และ 4. ราชบุตรหรืออัครบุตร ในกรณีตำแหน่งต้นๆ ไม่มีหรือไม่มีใบบอกไปเมืองหลวง กล่าวโทษเมือง 3 เมือง ว่าแย่งชิงเขตแขวงเมืองสุวรรณภูมิ ไปขอตั้งเป็นเมืองขึ้นของตนเอง คือ เมืองมหาสารคาม ขอตั้งบ้านนาเลา เป็น “เมืองวาปีปทุม” เมืองสุรินทร์ ขอตั้งบ้านทัพค่าย เป็น “เมืองชุมพลบุรี” และเมืองศรีสะเกษ ขอตั้งบ้านโนนหินกอง เป็น “เมืองราษีไศล” ได้โปรดเกล้าฯ ให้ข้าหลวงเมืองนครจำปาศักดิ์และข้าหลวงเมืองอุบลราชธานี ไต่สวนว่ากล่าวเรื่องนี้ แม้ว่าจะไต่สวนความจริง แต่ก็ไม่สามารถรื้อถอนได้ เพราะเมืองทั้ง 3 เมือง นี้ ได้โปรดเกล้าฯให้ตั้งเป็นเมืองขึ้นแก่เมืองทั้ง 3 เมืองมาหลายปีแล้ว จึงเป็นอันโปรดเกล้า ฯ ให้คงเป็นเมืองขึ้นของเมืองทั้ง 3 ตามเดิม (จึงมีบางตำราว่า “เมืองราษีไศล” เดิม เคยขึ้นกับเมืองร้อยเอ็ด)
ครั้นต่อมา พ.ศ.2438 ได้ย้ายเมืองราษีไศล มาตั้งอยู่ที่บ้านท่าโพธิ์ ตำบลเมืองคง ต่อมา พ.ศ.2443 เมื่อจัดการปกครองเป็นแบบ “มลฑลเทศาภิบาล” (โดยธรรมเนียมการปกครองแบบ “มลฑลเทศาภิบาล หน่วยการปกครองแบ่งออกเป็น มลฑล บริเวณ เมือง และอำเภอ ตามลำดับ) เมืองราษีไศล จึงถูกยุบลงเป็นอำเภอ เรียกว่า “อำเภอราษีไศล” ขึ้นกับเมืองศรีสะเกษ เมืองราษีไศลจึงหมดสภาพเป็นเมืองแต่นั้นมา โดยนัยนี้ถือว่าขุนบริหารชนบท (ทองคำ) เป็นผู้ว่าราชการเมืองคนสุดท้าย และเป็นนายอำเภอราษีไศลคนแรก (ดำรงตำแหน่งระหว่าง พ.ศ.2442 – 2450)
พุทธศักราช 2421 พระยาวิเศษภักดี (บุญจันทร์) เจ้าเมืองศรีสะเกษ ตั้งกองนอกฝ่ายเหนือขึ้น ตั้งท้าวจันศรีบุตรหลวงอภัย เป็นพระพลราชวงศา นาย กอง ให้รวบรวมตัวเลขและปรับปรุงบ้านเมืองเพื่อขอยกฐานะเป็นเมืองต่อไป พระพลราชวงศา ได้ไปตั้งรวมตัวเลขอยู่ ณ บ้านโนนหินกอง ในปีนี้ พระยาวิเศษภักดี (บุญจันทร์) เจ้าเมือง ไปไร่ซึ่งอยู่ข้างบ้านโนนจาน ได้ลงอาบน้ำที่แม่น้ำมูลจมน้ำตาย บ่าวไพร่ช่วยเหลือไม่ทัน ครั้นรุ่งขึ้นจึงพบศพ ครองเมืองย่าง 54 ปี
พุทธศักราช 2423 พระพรหมภักดี (โท) ยกกระบัตรเมือง บุตรพระยาวิเศษภักดีกับท้าวคำปานผู้ช่วยราชการเมือง ลงไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เพื่อแย่งกันขอเป็นเจ้าเมือง แต่พอไปถึงกรุงเทพมหานคร ท้าวคำปานก็ถึงแก่กรรมเสีย
พุทธศักราช 2424 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมตั้งพระพรหมภักดี (โท) ยกกระบัตรเมืองเป็นพระยาวิเศษภักดี เจ้าเมือง ถือศักดินา 3,000 ให้ท้าวเหง้าบุตรพระยาวิเศษภักดี (บุญจันทร์) เป็น พระภักดีโยธา ปลัดเมือง ถือศักดินา 600 ให้ราชวงศ์ปัญญาบุตรหลวงไชย (สุก) เป็น พระพรหมภักดี ยกกระบัตรเมือง ถือศักดินา 500 และท้าววิเศษบุตรพระยาวิเศษภักดี (โท) ได้เป็นผู้ช่วยราชการเมือง
ในปีนี้เจ้าเมืองและกรมการเมืองศรีสะเกษ ได้ขอตั้งบ้านโนนหินกอง เป็นเมืองราษีไศล ขึ้นแก่เมืองศรีสะเกษ ให้พระพลราชวงศา เป็น พระประจนปัจจนึก ผู้ว่าราชการเมืองราษีไศล ถือศักดินา 800 โปรดฯ ตั้งหลวงแสง (จัน) น้องชายพระประจนปัจจนึก เป็น หลวงหาญศึกพินาศ ปลัดเมือง ให้ท้าวคำเม็ก บุตรพระประจนปัจจนึก เป็น หลวงพิฆาตไพรี ยกกระบัตรเมือง
พุทธศักราช 2431 อุปฮาชเมืองสุวรรณภูมิ ในฐานะผู้รักษาเมืองและกรมการเมืองมีใบบอกกล่าวโทษเมืองมหาสารคาม เมืองสุรินทร์ เมืองศรีสะเกษ ว่าแย่งชิงเขตแขวงเมืองสุวรรณภูมิ ไปขอตั้งเป็นเมืองขึ้น คือ เมืองมหาสารคาม ขอตั้งบ้านนาเลา เป็น เมืองวาปีปทุม เมืองสุรินทร์ ขอตั้งบ้านทัพค่ายเป็น เมืองชุมพลบุรีเมืองศรีสะเกษขอตั้งบ้านโนนหินกองเป็น เมืองราษีไศล ได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ข้าหลวงเมืองนครจำปาศักดิ์และข้าหลวงเมืองอุบลราชธานี ไต่สวนว่ากล่าวเรื่องนี้ แม้ว่าจะไต่สวนได้ความจริง แต่ก็รื้อถอนไม่ไหว เพราะเมืองทั้ง 3 นี้ ได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งเป็นเมืองขึ้นแก่เมืองทั้งสามมาหลายปีแล้ว จึงเป็นอันโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้คงเป็นเมืองขึ้นของทั้ง 3 เมืองตามเดิม
พุทธศักราช 2438 ได้ย้ายเมืองราษีไศล มาตั้งอยู่ที่บ้านท่าโพธิ์ ตำบลเมืองคง (ปัจจุบันอยู่ในเขตเทศบาลตำบลเมืองคง)
พุทธศักราช 2443 เมื่อจัดการปกครองบริเวณถูกยุบลงเป็นอำเภอ เรียกชื่อว่า อำเภอราษีไศล ขึ้นกับเมืองศรีสะเกษ เมืองราษีไศลจึงหมดสภาพเป็นเมืองนับตั้งแต่นั้นมา
พุทธศักราช 2456 เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอคง โดยเอานามตำบลที่ตั้งเป็นชื่ออำเภอ
พุทธศักราช 2482 จึงเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอราษีไศล ตามเดิม เพราะต้องการอนุรักษ์ชื่อเมืองเดิมไว้
ที่ตั้งและอาณาเขตอำเภอราษีไศล
อำเภอราษีไศลตั้งอยู่ตอนบนของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอโพนทราย (จังหวัดร้อยเอ็ด) อำเภอศิลาลาด และอำเภอมหาชนะชัย (จังหวัดยโสธร)ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอค้อวัง (จังหวัดยโสธร) และอำเภอยางชุมน้อยทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอยางชุมน้อย อำเภอเมืองศรีสะเกษ และอำเภออุทุมพรพิสัยทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอบึงบูรพ์ และอำเภอรัตนบุรี (จังหวัดสุรินทร์)
อำเภอราษีไศลแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 13 ตำบล 190 หมู่บ้าน ได้แก่
1 ตำบลเมืองคง
2 ตำบลบัวหุ่ง
3 ตำบลเมืองแคน
4 ตำบลไผ่
5 ตำบล หนองแค
6 ตำบลส้มป่อย
7 ตำบลจิกสังข์ทอง
8 ตำบลหนองหมี
9 ตำบลด่าน
10 ตำบลหว้านคำ
11 ตำบลดู่
12 ตำบลสร้างปี่
13 ตำบลหนองอึ่ง
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอราษีไศลประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 14 แห่ง ได้แก่
เทศบาลตำบลเมืองคง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเมืองคงองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองคง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองคง (นอกเขตเทศบาลตำบลเมืองคง)องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองแคน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองแคนทั้งตำบลองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแค ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองแคทั้งตำบลองค์การบริหารส่วนตำบลจิกสังข์ทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจิกสังข์ทองทั้งตำบลองค์การบริหารส่วนตำบลด่าน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลด่านทั้งตำบลองค์การบริหารส่วนตำบลดู่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดู่ทั้งตำบลองค์การบริหารส่วนตำบลหนองอึ่ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองอึ่งทั้งตำบลองค์การบริหารส่วนตำบลบัวหุ่ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบัวหุ่งทั้งตำบลองค์การบริหารส่วนตำบลไผ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไผ่ทั้งตำบลองค์การบริหารส่วนตำบลส้มป่อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลส้มป่อยทั้งตำบลองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหมี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองหมีทั้งตำบลองค์การบริหารส่วนตำบลหว้านคำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหว้านคำทั้งตำบลองค์การบริหารส่วนตำบลสร้างปี่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสร้างปี่ทั้งตำบล
เขื่อนราษีไศล
อำเภอราษีไศล มีแหล่งน้ำสำคัญ คือ เขื่อนราษีไศล เป็นเขื่อนคอนกรีต มีบานประตูระบายน้ำ 7 บาน กั้นแม่น้ำมูลที่บ้านห้วย-บ้านดอนเขื่อนเริ่มเก็บกักน้ำในปี พ.ศ. 2536
ข้อมูล จาก www.wikipedia.com
No comments:
Post a Comment