ปราสาทบ้านเมืองจันทร์หรือธาตุหรือว่าเจดีย์บ้านเมืองจันทร์ตั้งอยู่ที่บ้านเมืองจันทร์ตำบลเมืองจันทร์อำเภอเมืองจันทร์จังหวัดศรีสะเกษปราสาทบ้านเมืองจันทร์เป็นเจดีย์ทรงปราสาทเพิ่มมุมไม้สิบสองส่วนฐานเป็นชุดฐานบัว 1 ชั้นรองรับตัวเรือนทาสทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสก่ออิฐฉาบปูนมีซุ้มจระนำทั้ง 4 ด้านก่อปิดทึบหัวเสาประตูซุ้มจระนำปั้นปูนเป็นลายบัวคว่ำบัวหงายส่วนยอดทำเป็นเรือนธาตุจำลองซ้อนลดหลั่นกันไปสามชั้นปลายสุดทำเป็นปลียอดสอบแหลมคล้ายเจดีย์จำลองกำหนดการสร้างอยู่ในสมัยอยุธยา อิทธิพลศิลปะล้านช้างประมาณพุทธศตวรรษที่ 23 กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 21 กันยายนพ.ศ 2551
ปราสาทบ้านเมืองจันทร์ ตั้งอยู่ในบริเวณวัดเมืองจันทร์ หมู่ 1 ตำบลเมืองจันทร์ อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ อยู่ห่างจากปราสาทสระกำแพงใหญ่ 15 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ ประมาณ 42 กิโลเมตร (ถนนหลวงหมายเลย 226 แยกอุทุมพรพิสัย – เมืองจันทร์)
ปราสาทบ้านเมืองจันทร์เป็นปราสาท หรือปรางค์เดี่ยว ฐานเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาด 3.40 เมตร สูง 15 เมตร มี 4 ชั้น สร้างด้วยอิฐสอปูน รูปทรงสี่เหลี่ยมย่อมุม ยอดเ รียวแหลม ซุ้มประดูทั้งสี่ด้านเป็นประตูหลอก ไม่มีกำแพงแก้ว ทับหลังหรือศิลาจำหลักใด ๆ ทั้งสิ้น
2 รูปทรง และขนาดมีลักษณะคล้ายกับปราสาทบ้านโนนธาตุหรือปราสาทห้วยทับทัน อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ มากที่สุด จะแตกต่างก็เพียงเป็นปราสาทเดี่ยว แต่ปราสาทที่บ้านโนนธาตุ เป็นปราสาท 3 องค์
3 ในบริเวณปราสาทบ้านเมืองจันทร์ มีการขุดพบในเสมาหิน สลักเป็นรูปดอกบัวตูม และอาจารย์ศรีศักรวิลลิโภดม ได้ให้ข้อสันนิษฐานไว้ว่า “เสมาหินในภาคอีสาน มีมากมายหลายแบบกว่าภาคอื่น ๆ เป็นลักษณะพิเศษของวัฒนธรรมอีสาน ที่มีการเกี่ยวโยงกับลัทธิความเชื่อเรื่องการถือผี และการเซ่นไหว้บรรพบุรุษที่เข้ามาปะปนกับการนับถือพุทธศาสนา ด้วยเหตุนี้ใบเสมาหินที่สลักเป็นรูปดอกบัว หรือกลีบบัว จึงเป็นสัญลักษณ์ของพุทธศาสนา”
4 นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าปราสาทบ้านเมืองจันทร์ อาจจะสร้างในราวสมัยอยุธยาตอนปลาย หรืออาจจะในช่วงที่มีการบูรณปฏิสังขรณ์ ปราสาทบ้านโนนธาตุ อำเภอห้วยทับทับ จังหวัดศรีสะเกษ และเป็นพุทธสถานมากกว่าจะเกี่ยวกับลัทธิความเชื่อในศาสนาอื่น หรืออาจจะสร้างเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ หรืออัฐิธาตุของพระเถระ หรือบุคคลสำคัญ ที่ชุมชนให้ความเคารพศรัทธาก็ได้
5 ที่น่าสังเกตอีกประการหนึ่งก็คือ ชุมชนที่อยู่ในบริเวณโดยรอบ เป็นที่อยู่อาศัยของขาวกูยหรือชาวส่วย และอยู่ไม่ไกลจากปราสาทสระกำแพงใหญ่ ซึ่งเป็นศูนย์อำนาจ และแหล่งอารยธรรมของอาณาจักรเขมรโบราณ ไม่มากนัก
No comments:
Post a Comment