กู่แก้วสี่ทิศ ประวัติกู่แก้วสี่ทิศ ตำนานกู่แก้วสี่ทิศ
กู่แก้วสี่ทิศตั้งอยู่ บ้านหว้าน หมู่ 1 ตำบลหว้านคำ อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ห่างจากอำเภอราษีไศล ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ห่างจากอำเภอราษีไศล ประมาณ 5 กิโลเมตร ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของบ้านหว้านคำก็จะถึงแหล่งโบราณคดีที่ขุดพบอยู่ในที่สาธารณะประโยชน์ป่าช้าดงใหญ่ พระครุวิมลธรรมรังษีเจ้าคณะตำบลหว้านคำ จึงสืบค้นหาประวัติการตั้งชุมชนบ้านหว้านคำ พบว่า วัดบ้านหว้านคำก่อตั้งเมื่อ 16 เมษายน 2116 หรือประมาณ 447 ปี ไม่มีบันทึกการตั้งชุมชนบ้านหว้านไว้เป็นหลักฐาน ท่านได้สืบค้นโดยการพูดคุยกับผู้เฒ่าที่มีอายุ 80 ปี ขึ้นไปในหมู่บ้านหลายคน โดยข้อมูลที่ได้นำมาอ้างอิงได้ว่า ชุมชนบ้านหว้านมีผู้มาตั้ง 5 กลุ่มชน แต่ไม่ได้อพยพมาพร้อมกันภาษาที่ใช้สื่อสารกันมีทั้งภาษาเยอและภาษาอีสานคือ1
บรรพบุรุษกลุ่มที่ 1
อพยพมาจากบ้านขุหลุ ปัจจุบันคือจังหวัดอุบลราชธานี สาเหตุฝนแล้งติดต่อกัน 3 ปี อพยพ มา 10 ครัว เรือน มี หลวงแสงเป็นหัวหน้ากลุ่ม ตั้งบ้านเรือนอยู่บ้านหว้าน หมู่ 2 ในปัจจุบัน
บรรพบุรุษกลุ่มที่2
คือนายเอี้ยม อพยพมาจากรัตนบุรี ปัจจุบันคือจังหวัดสุรินทร์ ที่ตั้งบ้านเรือนไม่ระบุ
บรรพบุรุษกลุ่มที่3
อพยพมาจากบ้านหญ้าป้องเมืองขุขันธ์ ขณะนั้น อพยพ มา 5 ครัวเรือน ตั้งบ้านเรือนอยู่บ้านหว้าน หมู่ 1 และบ้านโนน หมู่ 12 ปัจจุบัน
4 บรรพบุรุษกลุ่มที่
อพยพมาจากบ้านเพ็ก เมืองขุขันธ์ ขณะนั้น ตั้งบ้านเรือนรวมกับกลุ่มบ้านหญ้าป้อง
บรรพบุรุษกลุ่มที่ 5
อพยพมาจาก อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี อพยพ มา 5 ครัวเรือน ตั้งบ้านเรือนรวม กลุ่มบ้านหญ้าป้อง
ชุมชนบ้านหว้านเป็นชุมชนใหญ่ มีความเจริญด้านวัฒนธรรมมาควบคู่กับ เมืองกตะศิลา ที่ตั้งห่างกันเพียง 1 กิโลเมตร เมื่อพิจารณาการเกิดชุมชนบ้านหว้านแล้วน่าจะมีชุมชนเก่าแก่เกิดก่อนก่อตั้งมาแล้ว อาจก่อนชุมชนเขมร ที่เรียก ดอนเขมร และก่อนบรรพบุรุษทั้ง 5 กลุ่ม
จากการค้นพบแหล่งโบราณคดี
( กู่แก้วสี่ทิศ ) ที่เกิดก่อนชุมชนบ้านหว้าน น่าจะเป็นช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 12 - 23 ที่เกิดการอพยพของชาวลาวและเขมรเพื่อจับจองหาที่อยู่แหล่งใหม่จนเกิดชุมชนย่อยๆ ขึ้นมาใหม่มากมาย ซึ่งส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท แบบลังกา มีลักษณะเป็นพุทธศาสนาแบบมหาชน ที่ผู้คนเข้าถึงได้โดยง่าย ต่างจากนิกายมหายานที่ผู้ประกอบพิธีเป็นชนชั้นเจ้านาย
หากพิจารณาถึงการสืบค้นของ พระครูวิมลธรรมรังสี ผู้บูรณะกุแก้วสี่ทิศ ท่านเล่าว่า ห่างจากกู่แก้วสี่ทิศ 100 เมตร ด้าน ทิศเหนือมีสระน้ำขนาดใหญ่ กว้าง 24 เมตร ยาว 35 เมตร ชาวบ้านเรียก หนองกู่ และห่างจากกู่แก้วสี่ทิศ 150 เมตร ด้านทิศใต้ มีสระน้ำขนาดใหญ่ กว้าง 42 เมตร ยาว 100 เมตร ชาวบ้านเรียกว่า หนองกระเบา สระน้ำ ทั้งสอง คนสมัยนั้นอาจขุดเป็นบ่อน้ำกินน้ำใช้ในการเกษตร ซึ่งอยู่ใกล้กับบริเวณโบราณสถาน คือ กู่แก้วสี่ทิศ ที่เป็นจุดศูนย์กลางของชุมชนโบราณ ลักษณะดังกล่าวเป็นแบบการพัฒนาชุมชนเป็นบ้านเป็นเมืองตามแบบใน วัฒนธรรมเขมรโบราณ
ตำนานกู่แก้วสี่ทิศ ของรพระครูวิมลธรรมรังษี ที่ถ่ายทอดผ่านการเล่าของพ่อสมศรี คำแก้ว ซึ่งเป็นลูกชายหมอลำเสน ที่บันทึกเรื่องราวของกู่แก้วสี่ทิศ ไว้ในกลอนลำ มีว่า นครแห่งหนึ่ง เมืองหลวงนครหนองกระแสแสนหย่าน ปัจจุบันอยู่ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีเจ้าครองนคร ชื่อ พระเจ้าวรมันต์ มีอำนาจและปกครองอาณาเขตกว้างใหญ่ มีหลายชนเผ่า โดยยึดหลักทศพิธราชธรรม ต้องการขยายอาณาเขตของพระองค์ออกไปอีก จึงประชุมอำมาตย์และรับสั่งว่า ใครสร้างเมืองใหม่ได้ครบ 7 เมืองก่อนพระองค์จะพระราชทานให้อำมาตย์ผู้นำปกครองหนึ่งเมือง
อำมาตย์ท้าวพระขรรคชัยรับอาสาโดยมีปุโลหิตคู่ใจ ชื่อ ขุนอัครวระเดช พร้อมไพร่พล 300 คน ได้มุ่งหน้าลงมาทางใต้รอนแรมมาตามแม่น้ำ ได้พาไพร่พลสร้างเมืองมาได้ 3 แห่งแล้ว เมืองที่ 4 ได้บริเวณป่ายางป่าพะยอม ซึ่งเป็นที่ตั้ง กู่แก้วสี่ทิศ และบ้านหว้าน ในปัจจุบัน เมื่อสร้างเมืองแห่งนี้เสร็จก็เฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ ต่อมาท้าวพระขรรค์ชัยได้ล้มป่วยและเสียชีวิตที่นี่ เมื่อสิ้นท้าวขรรค์ชัยไพร่พลได้อพยพกลับนครกระแสแสนหย่าน
จากการสำรวจ ของกรมศิลปากร เขต 11 จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2547 ได้สำรวจดูอิฐบอกว่า กู่แก้วสี่ทิศ หรือธาตุนี้ อยู่ในสมัยทวารวดีมีอายุประมาณ 1,200 ปี
ในระหว่าบูรณะ ขุดค้นได้พบวัตถุที่คล้าย ตะกรัมที่คนโบราณใช้ทำเครื่องรางของขลัง รวมทั้งโบราณวัถตุ อาทิ เบ้าหรือแม่พิมพ์ทำจากดินเผา หม้อบรรจุอัฐิ หอกสามกษัตริย์ และฟอสซิสหอย
สิ่งต่างๆ ที่ขุดพบบางส่วนได้นำมาทำเป็นวัตถุมงคลเพื่อหาทุนทรัพย์บูรณะ กู่แก้วสี่ทิศ และศาลการเปรียญวัดบ้านหว้าน สำหรับส่วนที่เหลือถูกจัดเก็บในที่มั่นคงไว้แสดงให้ประชาชนทั่วไปชมที่วัดบ้านหว้าน ตำบลหว้านคำ อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
ทุกวันที่ 13 เมษายน ของทุกปี จะมีการทำบุญตักบาตรบริเวณ กู่แก้วสี่ทิศ
เครดิต: ที่มา กู่แก้วสี่ทิศ ตำนานแห่งธาตุกายสิทธิ์พันปี เรียบเรียง โดย พระครูวิมลธรรมรังสี เจ้าคณะตำบลหว้านคำ ตำบลหว้านคำ อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ